วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สรุปสื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชื่อเรื่อง   แก้วส่งเสียง
แหล่งที่มา : ISci : episode 239 - แก้วส่งเสียง

     เป็นคลิป VDO ที่กระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กๆด้วยของเล่นและการทดลองจากหลักวิทยาศาสตร์ของเล่นและการทดลองในคลิปวีดีโอนี้เป็นของเล่นที่หาอุปกรณ์ได้ง่ายๆ เด็ก ๆจะได้มีโอกาสทำของเล่นเองมากขึ้นและเป็นสิ่งใกล้ตัวเด็กอีกด้วย
อุปกรณ์ : 1.แก้วกระดาษ   2.คลิปหนีบกระดาษ   3.หลอด
วิธีการทำ : 1.หยิบแก้วกระดาษขึ้นมา
2.หลังจากนั้นเจาะรูตรงทายแก้วกระดาษให้ขนาดพอที่จะเจาะหลอดเข้าไปได้

แบบที่ 1 ขนาดหลอดเท่ากันขนาดแก้วไม่เท่ากัน 3 ใบ
แบบที่ 2 ขนาดแก้วเท่ากันขนาดหลอดไม่เท่ากัน 3 ใบ

สาเหตุที่แก้วเกิดเสียง :  ได้เป็นเพราะว่า เมื่อเรารูดนิ้วที่หลอดจะเกิดการสั่นสะเทือน ทำให้เกิดคลื่นเสียง โดยมีแก้วซึ่งมีช่องว่างตรงกลาง ทำหน้าที่ขยายเสียงให้ดังกรองมากขึ้น และจากการคลื่นเสียงกระทบผนังแก้ว แล้วก็สะท้อนกลับไปมาจะทำให้เสียงดังอยู่นานขึ้น

จากการทดลอง :  ทำให้เราพบว่า เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนเกิดเป็นคลื่นเสียงแล้ว เดินทาเข้าสู่หูเรา ทำให้ได้ยินเสียงต่างๆนั้นเอง



สรุปวิจัย  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย
ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ผู้วิจัย   สุมาลี  หมวดไธสง
หลักสูตรปริญญาศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชา การศึกษาปฐมวัย 
บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ปีการศึกษา 2554

เรื่อง  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยได้รับการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนและเป็นแนวทางในการใช้วิธีการสอนแบบการจัดกิจกรรมให้ผู้ดูแลและผู้เกี่ยวข้องเด็กปฐมวัยนำไปพัฒนาด้านอื่นๆให้แก่เด็กต้องเป็นการส่งเสริมพัฒนาแลศักยภาพของเด็กปฐมวัย

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1.) เพื่อศึกษาระดับความสามารถการวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาในครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ศึกษาและค้นคว้าจากหนังสือและเอกสารตำราต่างๆพร้อมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้คือ
1.) การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2.) การจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนหรือนอกสถานที่
3.) การคิดวิเคราะห์

ขอบเขตของการศึกษา
1.) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปีชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2/2553โรงเรียนสารสาส์นวิเทศจำนวน 180 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มโดยสุ่มมา 1 ห้องเรียนจำนวน 30 คน
2.) ตัวแปรที่ศึกษาตัวแปรอิสระกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนตัวแปรตามความสามารถในการวิเคราะห์

บทที่ 3 วิธีการดําเนินการศึกษ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่องการสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยกำหนดขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
1.) กลุ่มเป้าหมายกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปีชั้นอนุบาลปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 2 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศจำนวน 180 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มโดยสุ่มมา 1 ห้องเรียนจำนวน 30 คน
2.) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
     1 แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
     2 แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย การจัดหมวดหมู่ การหาความสัมพันธ์
3.) การเก็บรวบรวมข้อมูล
     1 สร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 8 สัปดาห์
     2 นำแบบทดสอบการวิเคราะห์ที่ผู้สร้างขึ้นมาทดสอบก่อนทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง
     3 ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้กิจกรรมกระบวนการวิธีทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเป็นเวลา 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 ครั้งครั้งละ 40 นาที
     4 เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์ผู้วิจัยทำการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบทดสอบการวิเคราะห์ฉบับเดียวกับแบบทดสอบที่ใช้ก่อนการทดสอบอีกครั้ง
     5 นำข้อมูลที่ใช้ได้จากการทดสอบการวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานและสรุปผลการทดลอง
4.) การวิเคราะห์ข้อมูล
      1 หาค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนจากแบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์การแก้ปัญหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     2 เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
 1.) ผลการศึกษาระดับความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิศาลนอกห้องเรียนของระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
2.) ผลการเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจ 0.01

บทที่ 5 สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่รับการจัดกิจกรรมกระบวนการคณิตศาสตร์นอกห้องเรียนและเพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางเวชศาสตร์นอกห้องเรียน

สรุปผลการศึกษา
1.) ผลการศึกษาระดับความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิศาลนอกห้องเรียนของระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
2.) ผลการเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจ 0.01







บทความสอนเด็กอนุบาลด้วยนิทาน
สนุกสนานเรียนรู้ได้ทุกวิชาตามเด็กปฐมวัย..เรียนรู้วิทย์จากไก่และเป็ด

สสวท. ได้สร้างครูแกนนาปฐมวัยกว่า 600 คน ในทุกเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ และครูปฐมวัยกว่าหมื่นคนได้นาร่องกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ปฐมวัยลงสู่ชั้นเรียน
 
     คุณครูลาพรรณี มืดขุนทด ครูแกนนาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีปฐมวัยของ สสวท. และคุณครูไพรวัลย์ ภิญโญทรัพย์ ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านหนองผือจาเริญพัฒนา อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก คุณครูปลูกฝังให้เด็กๆ รักการอ่านและแก้ไขพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น ทิ้งขยะไม่ถูกที่ งอแง ขาดระเบียบวินัย กินขนมลูกอมใส่สี ฯลฯ ด้วยนิทาน นักเรียนชั้นอนุบาล 1 และอนุบาล 2 ที่คุณครูสอนอยู่นั้นมีเด็กๆ ที่น้าหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และเด็กยากจนด้อยโอกาสจึงได้รับไข่จาก อบต. นาเพียง วันละ 2 ฟองต่อคน ต่อเนื่องกันนาน 3 เดือน เพื่อเพิ่มน้ำหนักตัว ฟาร์มเลี้ยงไก่และเป็ดของ อบต. นาเพียง นั้นอยู่อยู่ใกล้โรงเรียนนิดเดียว เดินข้ามรั้วโรงเรียนไปก็ถึง คุณครูจึงได้การจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางของ สสวท. ผ่านนิทานเรื่อง หนูไก่คนเก่ง ซึ่งสอนให้เด็กๆ ได้รู้จักการช่วยเหลือตัวเอง อาบน้ำแต่งตัวเองได้ ทำงานส่งครูได้ทันเวลา
การเรียนรู้จากนิทานเรื่องนี้มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย
ขั้นตอนแรก คือ ขั้นนำ เด็กได้ร้องเพลงไก่ พร้อมทั้งทาท่าทางประกอบเพลงอย่างอิสระ ฟังนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่ง สนทนาและตั้งคำถามในการสืบค้นเกี่ยวกับสัตว์ในนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่งที่เด็กชื่นชม คือ ไก่และเป็ด
ขั้นตอนที่สอง คือ ขั้นสอน ชวนเด็กตั้งคาถามเชิงวิทยาศาสตร์ในการสืบค้น อยากรู้จังไก่กับเป็ดเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้างคะหนูรู้ได้อย่างไร บอกรายละเอียดมาให้มากที่สุด สำรวจตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไก่และเป็ด โดยนำลูกไก่มาให้เด็กสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ขนาด และอาหารของลูกไก่ด้วยตาเปล่าและแว่นขยาย โดยบอกรายละเอียดของลูกไก่ให้มากที่สุด และนำลูกเป็ดมาให้เด็กสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ขนาด และอาหารของลูกเป็ด ด้วยตาเปล่าและแว่นขยายโดยบอกรายละเอียดของเป็ดให้มากที่สุด นอกจากนั้น คุณครูพาเด็ก ๆ ไปศึกษาหารู้ความรู้เพิ่มเติมจากฟาร์มเลี้ยงไก่และเป็ดที่ อบต. นาเพียง ใกล้โรงเรียน และสังเกตรายละเอียดของไก่และเป็ด จากนั้นให้เด็กแต่ละกลุ่มช่วยกันนำเสนอผลงานผ่านภาพวาด และบันทึกคาพูดเด็กจากการสังเกต และเปรียบเทียบรูปร่างลักษณะและขนาดของไก่และเป็ดอย่างอิสระ
  ขั้นสุดท้าย คือ ขั้นสรุป เด็กนำเสนอผลงานจากการสังเกตรูปร่างลักษณะของไก่และเป็ดผ่านภาพวาดบนกระดาน เด็กได้รู้ว่าไก่และเป็ดมีรูปร่างลักษณะต่างกัน โดยค้นพบคาตอบด้วยตนเองจากการสังเกตและเปรียบเทียบ
      ประสบการณ์สำคัญที่เด็กๆ ได้รับจากกิจกรรมนี้ คือ การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง การสำรวจและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างของไก่และเป็ด การเปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ และขนาดของไก่และเป็ด
จุดเด่นของกิจกรรมนี้คือใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ตามแนวทางของ สสวท. ผู้ปกครองหรือชุมชนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม ผลที่เกิดกับเด็ก คือ เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสหลายๆ ด้านได้รับประสบการณ์ตรงส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ชื่นชมผลงานของผู้อื่น มีความรักและเมตตาต่อไก่และเป็ด ได้เรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อน รอคอย แบ่งปัน มีน้ำใจต่อกันคุณครูลาพรรณีกล่าว

     การจัดกิจกรรมบูรณาการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีแก่เด็กปฐมวัย เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์ในขณะที่ให้เด็กทำกิจกรรม เพียงแต่ครูควรตระหนักว่ากิจกรรมที่จัดนั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้เด็ก และควรจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ



บันทึกการเรียนครั้งที่ 16
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
เวลา 13.30-17.30 น.


เนื้อหา

     
- หน่วยไก่ สอนเรื่องสายพันธ์ วันจันทร์

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้เด็กจำแนกสายพันธ์ของไก่ได้
2.เพื่อให้เด็กสังเกตความเหมือนและความต่างของไก่แต่ละสายพันธ์


สาระที่ควรเรียนรู้

ไก่มีหลายสายพันธ์มีไก่ชน ไก่ฟ้า ไก่แจ้ ไก่ป่า ไก่บ้าน มีลักษณะ สี ขนาด แตกต่างกัน

ประสบการณ์สำคัญ

1.สังเกตความแตกต่างของไก่
2.จำแนกไก่แต่ละสายพันธ์ได้


กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ
1. ครูพาเด็กๆอ่านคำคล้องจองไก่
2.ครูถามเด็กๆว่าในคำคล้องจองมีไก่สายพันธ์ใดบ้าง
3.ครูถามเด็กว่านอกจากนี้ยังมีไก้สายพันธ์ใดที่เด็กๆรู้จักอีกบ้าง



ขั้นสอน
4.นำเล้าไก่ออกมาแล้วถามเด็กว่าในเล้ามีอะไรอยู่
5.หยิบไก่ออกมาจากเล้าแล้วถามเด็กๆว่า ''เด็กๆรู้ไหมว่านี่คือไก่สายพันธ์ใด''
6.เมื่อนำไก่ออกมาจากเล้าหมดแล้วให้เด็กๆช่วยนับไก่และหยิบตัวเลขมากำกับ
7.ให้เด็กแยกไก่ชนออกมาจากกองไก่แจ้และไก่ฟ้า
8.ครูถามเด็กๆว่าไก้สายพันธ์ไหนมากที่สุด และเด็กๆรู้ได้ไงว่ามากที่สุด
9.ครูพาเด็กๆพิสูจน์ด้วยวิธีการนับออก 1ต่อ1 โดยให้เด็กๆออกมาหยิบไก่โดยเหลือไก่สายพันธ์หนึ่งที่เหลืออยู่






ขั้นสรุป
10.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่าไก่ที่เหลือสายพันธืสุดท้ายคือไก่ที่มากที่สุด
11.ครูถามเด็กๆว่าวันนี้เด็กรู้จักไก่สายพันธืใดบ้าง

สื่อ 

1. ชาร์ตคำคล้องจองไก่
2. เล้าไก่
3.รูปภาพไก่ชน
4.รูปภาพไก่แจ้
5.รูปภาพไก่ฟ้า
6.ตัวเลข


การวัดและประเมินผล

สังเกตการสนทนาและตอบคำถาม


การบูรณาการ

1. ภาษา
2. คณิตศาสตร์
3. วิทยาศาสตร์


ตัวอย่างการสอนของเพื่อน












       
           สอนกิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์บูรณาการผ่านวิทยาศาสตร์และSTEM
หน่วยส้ม



การประยุกต์ใช้
       เห็นถึงวิธีการสอนแบบจริงๆ เนื่องจากจำลองเหตุการแบบจริงๆ เห็นภาพ ทำให้เห็นข้อดี และข้อบกพร่องของวิธีการสอนกลุ่มต่างๆ รวมถึงกลุ่มของตนเองด้วย


ประเมินครู
  ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับหน่วยต่างๆและช่วยบอกสิ่งที่เราตกหล่นไปจากการจัดกิจกรรม


ประเมินตนเอง
  ตั้งใจทำกิจกรรมมากและร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ


ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรมและช่วยกันร่วมกิจกรรมของเพื่อนแต่ละกลุ่ม





บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
เวลา 13.30-17.30 น.


เนื้อหา


การขียนแผนการเรียนการสอน หน่วย ไก่
    วันจันทร์          สอนเรื่อง  สายพันธุ๋
    วันอังคาร         สอนเรื่อง  ส่วนประกอบ
    วันพุธ              สอนเรื่อง  การดำรงชีวิต
    วันพฤหัสบดี     สอนเรื่อง  ประโยชน์-โทษ
    วันศุกร์             สอนเรื่อง  cooking การทำแซนวิชไก่ 

สอนเรื่องสายพันธ์ไก่ วันจันทร์


วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้เด็กจำแนกสายพันธ์ของไก่ได้
2.เพื่อให้เด็กสังเกตความเหมือนและความต่างของไก่แต่ละสายพันธ์


สาระที่ควรเรียนรู้

ไก่มีหลายสายพันธ์มีไก่ชน ไก่ฟ้า ไก่แจ้ ไก่ป่า ไก่บ้าน มีลักษณะ สี ขนาด แตกต่างกัน

ประสบการณ์สำคัญ

1.สังเกตความแตกต่างของไก่
2.จำแนกไก่แต่ละสายพันธ์ได้


กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ
1. ครูพาเด็กๆอ่านคำคล้องจองไก่
2.ครูถามเด็กๆว่าในคำคล้องจองมีไก่สายพันธ์ใดบ้าง
3.ครูถามเด็กว่านอกจากนี้ยังมีไก้สายพันธ์ใดที่เด็กๆรู้จักอีกบ้าง

ขั้นสอน
4.นำเล้าไก่ออกมาแล้วถามเด็กว่าในเล้ามีอะไรอยู่
5.หยิบไก่ออกมาจากเล้าแล้วถามเด็กๆว่า ''เด็กๆรู้ไหมว่านี่คือไก่สายพันธ์ใด''
6.เมื่อนำไก่ออกมาจากเล้าหมดแล้วให้เด็กๆช่วยนับไก่และหยิบตัวเลขมากำกับ
7.ให้เด็กแยกไก่ชนออกมาจากกองไก่แจ้และไก่ฟ้า
8.ครูถามเด็กๆว่าไก้สายพันธ์ไหนมากที่สุด และเด็กๆรู้ได้ไงว่ามากที่สุด
9.ครูพาเด็กๆพิสูจน์ด้วยวิธีการนับออก 1ต่อ1 โดยให้เด็กๆออกมาหยิบไก่โดยเหลือไก่สายพันธ์หนึ่งที่เหลืออยู่

ขั้นสรุป
10.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่าไก่ที่เหลือสายพันธืสุดท้ายคือไก่ที่มากที่สุด
11.ครูถามเด็กๆว่าวันนี้เด็กรู้จักไก่สายพันธืใดบ้าง

สื่อ 

1. ชาร์ตคำคล้องจองไก่
2. เล้าไก่
3.รูปภาพไก่ชน
4.รูปภาพไก่แจ้
5.รูปภาพไก่ฟ้า
6.ตัวเลข


การวัดและประเมินผล

สังเกตการสนทนาและตอบคำถาม


การบูรณาการ

1. ภาษา
2. คณิตศาสตร์
3. วิทยาศาสตร์




บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วันอังคาร ที่ 8 พฤศจิกายน 2559
เวลา 13.30- 17.30 น.


เนื้อหา

1.เพลงภาษาอังกฤษ
2. ทำผีเสื้อจากจานกระดาษ 
3.วิธีการสอนเป็นภาษาอังกฤษ                                                                                                                                                                                         


สาธิตการสอนเคลื่อนไหวโดยใช้เสียงเปียโนให้คณะดูงานจากประเทสออสเตรีย
                                   















เพลงสำหรับการสอนเคลื่อนไหว


Fly fly fly the butterfly

In the meadow it's flying high

In the garden it's flying low

Fly fly fly the butterfly



Hand Holding in Circle
Hand Holding in Circle
Hand Holding in Circle
Hand Holding in Circle
then We sit down


Flower Bloom

I’m breathing in
I’m breathing out as flowers bloom
The mountain’s high

The river as sign.
Here and there i breath i fly












บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันอังคาร ที่ 1 พฤศจิกายน 2559
เวลา 13.30- 17.30 น.

เนื้อหา

นำเสนอสื่อ(วิดิโอ) การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
  • พลังปริศนา(กลุ่มดิฉัน)
  • ขวดบ้าพลัง
  • รถหลอดด้าย
  • ลูกข่างนักสืบ                                                                                              



→พลังปริศนา←










ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
- ควรมีตัวหนังสือกำกับในส่วนของวัสดุและต้องบอกจำนวน เช่น ฝา1 ฝา แผ่นซีดี 1 แผ่น
-ขั้นตอนการทำควรมีตัวหนังสือกำกับเป็นขั้นๆ
-เมื่อทำเสร็จแล้วต้องมีการทบทวนด้วยผังกราฟฟิก


การทำMine map บูรณาการการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระ
(ทำงานตามกลุ่ม)

คณิตศาสตร์ 6 สาระ
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ี2 การวัด
สาระที่3 เรขาคณิต
สาระที่4 พีชคณิต
สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

วิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ
ทักษะที่1 การสังเกต
ทักษะที่2 การวัด
ทักษะที่3 การคำนวณ
ทักษะที่4 การจำแนกประเภท
ทักษะที่5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา
ทักษะที่6 การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
ทักษะที่7 การลงความเห็นจากข้อมูล
ทักษะที่8 การพยากรณ์
ทักษะที่9 การตั้งสมมติฐาน
ทักษะที่10การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
ทักษะที่11การกำหนดและควบคุมตัวแปร
ทักษะที่12การทดลอง
ทักษะที่13การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อมูล

กรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ 8มาตรฐาน
สาระที่1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่3 สารและสมบัติของสาร
สาระที่4 แรงและการเคลื่อนที่
สาระที่5 พลังงาน
สาระที่6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น
ขั้นที่1 กำหนดปัญหา
ขั้นที่2 ตั้งสมมุติฐาน
ขั้นที่3 ทดลอง
ขั้นที่4 วิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นที่5 สรุป

ศิลปะ
วาภาพ/ระบายสี
การปั้น
ฉีก/ตัด/ปะ
การพิมพ์ภาพ
การประดิษฐ์
การเล่นกับสี

สังคม
การช่วยเหลือตนเอง
การอยู่ร่วมกับผู้อื่น เช่น การทำงานคู่ การทำงานกลุ่ม

สุขศึกษาและพละศึกษา
การเล่นกลางแจ้ง
เคลื่อนไหวและจังหวะ

  • ทำMine map บูรณาการการเรียนการสอนตาม 6 กิจกรรมหลัก
1 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2 กิจกรรมเสริมประสบกาณ์
3 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
4 กิจกรรมเสรี
5 กิจกรรมกลางแจ้ง
6 กิจกรรมเกมส์การศึกษา



การประยุกต์ใช้
        ได้รู้วิธีการทำของเล่นจากวัสดุเหลือใช้ และการใช้ T (Technology)มาใช้ในการสอนแบบ STEM


การประเมิน


ครู
ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดทำสื่อการสอน(วิดิโอ)และช่วยอธิบายการทำมายแมพ ให้เข้าใจได้ลึกซึ้ง

ตนเอง
ให้ความร่วมมือกับการทำงาน ตั้งใจเรียน

เพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน และช่วยเหลือกันในการทำงาน