วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทความสอนเด็กอนุบาลด้วยนิทาน
สนุกสนานเรียนรู้ได้ทุกวิชาตามเด็กปฐมวัย..เรียนรู้วิทย์จากไก่และเป็ด

สสวท. ได้สร้างครูแกนนาปฐมวัยกว่า 600 คน ในทุกเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ และครูปฐมวัยกว่าหมื่นคนได้นาร่องกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ปฐมวัยลงสู่ชั้นเรียน
 
     คุณครูลาพรรณี มืดขุนทด ครูแกนนาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีปฐมวัยของ สสวท. และคุณครูไพรวัลย์ ภิญโญทรัพย์ ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านหนองผือจาเริญพัฒนา อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก คุณครูปลูกฝังให้เด็กๆ รักการอ่านและแก้ไขพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น ทิ้งขยะไม่ถูกที่ งอแง ขาดระเบียบวินัย กินขนมลูกอมใส่สี ฯลฯ ด้วยนิทาน นักเรียนชั้นอนุบาล 1 และอนุบาล 2 ที่คุณครูสอนอยู่นั้นมีเด็กๆ ที่น้าหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และเด็กยากจนด้อยโอกาสจึงได้รับไข่จาก อบต. นาเพียง วันละ 2 ฟองต่อคน ต่อเนื่องกันนาน 3 เดือน เพื่อเพิ่มน้ำหนักตัว ฟาร์มเลี้ยงไก่และเป็ดของ อบต. นาเพียง นั้นอยู่อยู่ใกล้โรงเรียนนิดเดียว เดินข้ามรั้วโรงเรียนไปก็ถึง คุณครูจึงได้การจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางของ สสวท. ผ่านนิทานเรื่อง หนูไก่คนเก่ง ซึ่งสอนให้เด็กๆ ได้รู้จักการช่วยเหลือตัวเอง อาบน้ำแต่งตัวเองได้ ทำงานส่งครูได้ทันเวลา
การเรียนรู้จากนิทานเรื่องนี้มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย
ขั้นตอนแรก คือ ขั้นนำ เด็กได้ร้องเพลงไก่ พร้อมทั้งทาท่าทางประกอบเพลงอย่างอิสระ ฟังนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่ง สนทนาและตั้งคำถามในการสืบค้นเกี่ยวกับสัตว์ในนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่งที่เด็กชื่นชม คือ ไก่และเป็ด
ขั้นตอนที่สอง คือ ขั้นสอน ชวนเด็กตั้งคาถามเชิงวิทยาศาสตร์ในการสืบค้น อยากรู้จังไก่กับเป็ดเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้างคะหนูรู้ได้อย่างไร บอกรายละเอียดมาให้มากที่สุด สำรวจตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไก่และเป็ด โดยนำลูกไก่มาให้เด็กสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ขนาด และอาหารของลูกไก่ด้วยตาเปล่าและแว่นขยาย โดยบอกรายละเอียดของลูกไก่ให้มากที่สุด และนำลูกเป็ดมาให้เด็กสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ขนาด และอาหารของลูกเป็ด ด้วยตาเปล่าและแว่นขยายโดยบอกรายละเอียดของเป็ดให้มากที่สุด นอกจากนั้น คุณครูพาเด็ก ๆ ไปศึกษาหารู้ความรู้เพิ่มเติมจากฟาร์มเลี้ยงไก่และเป็ดที่ อบต. นาเพียง ใกล้โรงเรียน และสังเกตรายละเอียดของไก่และเป็ด จากนั้นให้เด็กแต่ละกลุ่มช่วยกันนำเสนอผลงานผ่านภาพวาด และบันทึกคาพูดเด็กจากการสังเกต และเปรียบเทียบรูปร่างลักษณะและขนาดของไก่และเป็ดอย่างอิสระ
  ขั้นสุดท้าย คือ ขั้นสรุป เด็กนำเสนอผลงานจากการสังเกตรูปร่างลักษณะของไก่และเป็ดผ่านภาพวาดบนกระดาน เด็กได้รู้ว่าไก่และเป็ดมีรูปร่างลักษณะต่างกัน โดยค้นพบคาตอบด้วยตนเองจากการสังเกตและเปรียบเทียบ
      ประสบการณ์สำคัญที่เด็กๆ ได้รับจากกิจกรรมนี้ คือ การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง การสำรวจและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างของไก่และเป็ด การเปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ และขนาดของไก่และเป็ด
จุดเด่นของกิจกรรมนี้คือใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ตามแนวทางของ สสวท. ผู้ปกครองหรือชุมชนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม ผลที่เกิดกับเด็ก คือ เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสหลายๆ ด้านได้รับประสบการณ์ตรงส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ชื่นชมผลงานของผู้อื่น มีความรักและเมตตาต่อไก่และเป็ด ได้เรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อน รอคอย แบ่งปัน มีน้ำใจต่อกันคุณครูลาพรรณีกล่าว

     การจัดกิจกรรมบูรณาการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีแก่เด็กปฐมวัย เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์ในขณะที่ให้เด็กทำกิจกรรม เพียงแต่ครูควรตระหนักว่ากิจกรรมที่จัดนั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้เด็ก และควรจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น